โครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด

โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กรณีศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่าย 14 หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยดำเนินการจัดเก็บข้อมูลครัวเรือนคนจน 5,075 ครัวเรือน ใน 6 อำเภอเป้าหมาย และมีการส่งต่อความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานต่าง ๆ รวมไปถึงมีการช่วยเหลือผ่านโมเดลแก้จน ซึ่งคณะผู้วิจัยได้วิเคราะห์และเลือกตำบลนำร่องเพื่อพัฒนาโมเดล   แก้จน เกษตรพามี ผู้นำดีพาอยู่ คือ ตำบลดงครั่งน้อย อำเภอเกษตรวิสัย มีโมเดลแก้จนย่อย 4 โมเดล คือ 1) ผักเพื่อชีวิต 2) เมล็ดพันธุ์เกื้อกูล 3) เกษตรทางเลือก และ 4) ผู้นำดีพาอยู่

ปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความยากจน คือ ความร่วมมือที่ดีของผู้นำในพื้นที่ การสำรวจข้อมูลครัวเรือนคนจนที่ถูกต้องและแม่นยำ การวิเคราะห์ให้พบต้นตอรากเหง้าของปัญหา (Root cause of problem) แล้วดำเนินการแก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหา


เป้าหมายการพัฒนา

เกิดระบบและโมเดลแก้จน (Operating model/Pilot project) ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและบริบทของคนจนกลุ่มเป้าหมายและสามารถส่งต่อความช่วยเหลือคนจนให้กับหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาสังคม จังหวัดร้อยเอ็ด ให้สามารถช่วยเหลือคนจนได้อย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ (Personalize Poverty Alleviation) อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาต้นแบบโมเดลแก้จนไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายระดับพื้นที่ที่เชื่อมโยงกับแผนพัฒนายุทธศาสตร์ของจังหวัด


ผลลัพธ์การพัฒนา

มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายและทิศทางการแก้ไขปัญหาความยากจนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ครัวเรือนคนจนได้รับการค้นหาและสอบทานอย่างเป็นระบบและแม่นยำ เกิดการส่งต่อข้อมูลครัวเรือนยากจนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคนจนที่ได้รับความช่วยตามความเหมาะสมและสภาวการณ์เร่งด่วน หรือตรงกับความต้องการ โดยเกิดการส่งต่อคนพิการเพื่อการสงเคราะห์ให้เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดและสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวม 182 คน, ส่งต่อให้เกิดความช่วยเหลือในการซ่อมแซมบ้านที่ทรุดโทรมให้กับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด 333 ครัวเรือน, ส่งต่อความช่วยเหลือในโมเดลแก้จน เกษตรพามี ผู้นำดีพาอยู่ 48 ครัวเรือน และส่งต่อเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพในโครงการอบรมทักษะอาชีพและงบของสำนักงานจังหวัดรวม 2 ล้านบาท จำนวน 240 คน


Loading