ในปี พ.ศ.2564 โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินงานดังต่อไปนี้
กิจกรรม “การขยายพันธุ์ไม่ใหญ่เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว”




กิจกรรม “ทางนี้มีผลผู้คนรัก (ถนนกินได้)”
เป็นการปลูกไม้ยืนต้นกลุ่มไม้ผลและไม้กินใบในพื้นที่และตามแนวถนนของศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตรและศูนย์การเรียนรู้ศาสตร์พระราชา ซึ่งไม้ยืนต้นเหล่านี้จะกลายเป็นแหล่งอาหารภายในมหาวิทยาลัยและเป็นต้นพันธุ์เพื่อขยายพันธุ์สำหรับแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้สนใจต่อไปในอนาคต


กิจกรรม “รับฝากขยะ Recycle”
เป็นกิจกรรมที่ทางชมรมทำเป็นประจำทุกปีเพื่อให้เกิดการ คัดแยกขยะก่อนทิ้ง ทั้งยังมีประโยชน์ โดยให้นักศึกษานำขยะมาฝากกับทางชมรม โดยสามารถ สะสมและแลกเป็นอุปกรณ์การเรียนได้ จากนั้นนำขยะรีไซเคิลที่ได้ไปจำหน่ายให้กับร้านรับซื้อขยะรีไซเคิล ซึ่งเงินที่ได้จากการจำหน่ายขยะมาเป็นงบประมาณสำหรับการดำเนินการในปีงบประมาณต่อไปซึ่งข้อมูลของขยะ Recycle ที่สำรวจได้ในปีการศึกษา 2564 มีดังแผนภาพ


โครงการจัดการขยะมีพิษและเพิ่มมูลค่าขยะอินทรีย์
ขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยจำนวนมากได้แก่ เศษใบไม้ และเศษอาหารจากโรงอาหาร ได้รับการเพิ่มมูลค่าโดยการทำเป็นปุ๋ยหมักและนำไปเป็นส่วนผสมของวัสดุเพาะกล้าและวัสดุปลูกในโครงการเพาะพันธุ์กล้าไม้เพื่อขยายพันธุ์ไม้ใหญ่


มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดจัดให้มีจุดรับขยะอันตราย อาทิเช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แบตเตอรี่ที่หมดอายุ ตามจุดต่างๆ ของอาคาร และมีการแยกขยะสารเคมีจากห้องปฏิบัติการ เพื่อนำไปกำจัดต่อด้วยบริษัทกำจัดขยะมีพิษที่ได้รับการรับรองมาตรฐานตามกฏหมายต่อไป นอกจากนั้นยังมีขยะติดเชื้อจากห้องปฏิบัติการ เช่น ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดดำเนินฆ่าเชื้อด้วยการนึ่งความดันไอน้ำและมีการตรวจสอบคุณภาพการฆ่าเชื้อตามประกาศของกรมอนามัยด้วยชุด spore test kit ตามวงรอบ ส่วนขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาลสนามและขยะติดเชื้อจากชุดตรวจ antigen test kit (ATK) มีการดำเนินการโดยว่าจ้างหน่วยงานภายนอก โรงพยาบาลเสลภูมิเพื่อรับไปกำจัดต่อไป




การจัดการน้ำเสียในมหาวิทยาลัย
น้ำเสียจากอาคารเรียน สำนักงาน ที่พักอาศัยบุคลากร หอพักนักศึกษา โรงอาหาร และน้ำเสียจากห้องปฏิบัติบัติการที่ผ่านการบำบัดเบื้องต้นแล้วจะถูกรวบรวมและเข้าสู่ระบบบำบัดแบบบึงปรับเสถียร (stabilization pond) ร่วมกับการปรับคุณภาพด้วยการเติมอากาศด้วยกังหันน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ น้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วได้รับการตรวจสอบคุณภาพตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดคุณภาพมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ ง (ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2548) พบว่าผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว จากนั้นน้ำที่ผ่านการบำบัดจะถูกนำไปใช้เพื่อการปรับภูมิทัศน์และเพื่อการเกษตร (เช่น การปลูกไม้ใช้งาน) ในมหาวิทยาลัยต่อไป




การลดการใช้งานพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (single-use plastic)
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดร่วมลงนามแสดงเจตนารมณ์ลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวร่วมกับกับกระทรวงทรัพยากรธรรชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ 59 แห่ง โดยมีกรอบการร่วมมือดังนี้
- รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในการลดการใช้งาน single-use plastic
- ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับร้านค้าภายในมหาวิทยาลัย
- รณรงค์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้บรรจุภัณฑ์ส่วนตัว เพื่อลดปริมาณขยะ
- ส่งเสริมการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง คัดแยกขยะและนำทรัพยากรกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
โดยมีระยะความร่วมมือตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน พ.ศ.2565 เป็นต้นไป
