กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น ดำเนินการจัดโครงการ การพัฒนารูปแบบส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กวัยก่อนเรียนโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน โดยใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพ (วงจร PDCA) ร่วมกับแนวคิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์สำหรับเด็กวัยก่อนเรียนในครั้งนี้ ซึ่งเป็นการพัฒนาบริการขั้นพื้นฐานในชุมชน ตั้งแต่ การวิเคราะห์ปัญหา (P-Plan) ระยะปฏิบัติการ (D-Do) ระยะติดตามผลผลการพัฒนา (C-Check) และระยะปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (A-Act) ผลจากการนำไปใช้นวัตกรรมกับผู้ปกครอง 30 คน ตำบลนาเมือง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า แอพพลิเคชั่น คู่มือส่งเสริม EQ หนูน้อย เป็นคู่มือส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กในช่วงอายุ 3-5 ปี โดยความสามารถของนวัตกรรมนี้คือ เพื่อเป็นคู่มือให้ผู้ปกครองในการพัฒนาบุตรหลานของท่านในเรื่องความฉลาดทางอารมณ์ เช่น “ด้านเก่ง” กระตือรือร้น สนใจ พอใจ “ด้านดี” รู้จักอารมณ์ตนเอง “ด้านสุข” พึงพอใจ มีความภูมิใจ โดยที่มีขั้นตอนและวิธีทำในการทำกิจกรรม เช่น อ่านหนังสือภาพนิทาน จะช่วยกระตุ้นทักษะด้านภาษา การร้องเพลง ฝึกทักษะการฟังเสียงและภาษา เป็นต้น คะแนนมีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เพราะนวัตกรรมนี้สามารใช้ได้จริง ขั้นตอนในการใช้งานของแอพพลิเคชันไม่มีความซับซ้อน