Does your university as a body host events at university that are open to the general public: public lectures, community educational events?
Year: 2023 Please provide one piece of evidence to demonstrate. Evidence can include policy documents, reports, publicity materials, guides, timetable of services or similar. (You can only upload a maximum of one evidence item in total per question.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้จัดโครงการยกระดับคุณภาพครูในโรงเรียนขนาดเล็ก ในกิจกรรม “เปิดชั้นเรียนและสะท้อนผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในโรงเรียนขนาดเล็ก” โดยมุ่งเน้นการให้บริการเข้าถึงแหล่งข้อมูลทางการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับบุคคลที่ไม่ได้ศึกษาในมหาวิทยาลัย
ในวันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมกันเกรา ชั้น 3 อาคารศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพราชภัฏกรีนวิว มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชิต กำมันตะคุณ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “หยั่งรากจิตตปัญญาสู่สังคมแห่งความสุข: เส้นทางสู่สุขภาวะทางปัญญา” มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตราภรณ์ วงศ์คำจันทร์ เป็นผู้กล่าวรายงาน โดยวัตถุประสงค์หลักของโครงการคือ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ผ่านกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education) มุ่งเน้นการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง สร้างความเข้าใจในตัวเองและผู้อื่น สร้างสังคมที่มีสุขภาวะทางปัญญา โครงการนี้ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดในการจัดกิจกรรมบรรยายและกิจกรรมเพื่อการศึกษาสำหรับโรงเรียนและชุมชนที่สนใจ โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ผู้สนใจ และมหาวิทยาลัยราชภัฏในเครือข่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาการศึกษาจิตตปัญญา การวิจัย และการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ในเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ โครงการนี้มุ่งเน้นการบ่มเพาะความเข้าใจในความเป็นมนุษย์ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความหมายของชีวิตและเชื่อมโยงกับสังคมและโลกอย่างลึกซึ้ง
กิจกรรมภายใต้โครงการแบ่งเป็น 6 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) ปฐมนิเทศ เตรียมความพร้อม 1 วัน 2) การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจตนเองสู่การเข้าใจผู้อื่น 3 วัน 3) การสร้างการเรียนรู้เพื่อบ่มเพาะคุณค่าภายใน 3 วัน 4) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ 4 วัน 5) ห้องเรียนครูผู้สร้างบันดาลใจ 1วัน และ 6) มหกรรมจิตตปัญญา 1 วัน
จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education) เป็นแนวคิดการเรียนรู้ที่เน้นการใคร่ครวญและการสำรวจภายในตนเอง รวมถึงการเชื่อมโยงกับผู้อื่นและโลกอย่างสมดุล โดยการเรียนรู้ในรูปแบบนี้จะช่วยเติมเต็มการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งกว่าแค่ความรู้ทางวิชาการ โดยให้ความสำคัญกับการค้นหาความหมายของชีวิต การตระหนักรู้ในตัวเองและมุมมองที่เห็นความเป็นมนุษย์ของเพื่อนร่วมชั้น การเข้าร่วมกิจกรรมจิตตปัญญาในโครงการนี้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการตระหนักรู้ในตนเองผ่านการปฏิบัติและการมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมยังได้รับเทคนิคใหม่ ๆ ในการสอนที่สามารถนำไปปรับใช้ในบริบทการสอน และนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดให้กับชุมชน หน่วยงานต่าง ๆ ได้ทันที
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดในฐานะเจ้าภาพร่วมในโครงการนี้ มีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้การศึกษาและการบ่มเพาะคุณค่าภายในผ่านจิตตปัญญาศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาสังคมที่มีความสมดุลทั้งด้านความรู้และจิตใจ

















